การสูญสิ้นของราชวงศ์โรมานอฟ

การสูญสิ้นของราชวงศ์โรมานอฟ ซึ่งมีพระเจ้านิโคลัสที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์โรมานอฟ และเป็นจุดจบของระบอบราชานิยมในรัสเซียอีกด้วย และก่อนที่เราจะไปรับฟังเรื่องราวประวัติศาสตร์แอดมินขอแนะนำ เหตุการณ์การปะทุของภูเขาไฟเซเมรู ความรุนแรงทางธรรมชาติที่เอาชีวิตของผู้คนชาวอินโดนีเซีย และขอขอบคุณทาง คาสิโนออนไลน์เว็บตรง เครดิตฟรี ที่คอยให้การสนับสนุนดี ๆ กับทางเรา

การสูญสิ้นของราชวงศ์โรมานอฟ ซึ่งมีพระเจ้านิโคลัสที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้าย

การสูญสิ้นของราชวงศ์โรมานอฟ
ราชวงศ์โรมานอฟ

ราชวงศ์โรมานอฟเป็นราชวงศ์ที่เก่าแก่ เพราะปกครองรัสเซียมายาวนานกว่า 304 ปี ในปี 1894 ประเทศรัสเซียได้สูญเสียพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 ในวัย 49 พรรษา ทำให้พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ต้องขึ้นครองราชย์ในเวลารวดเร็ว นักวิชาการมักพูด หรือให้สัมภาษณ์ว่าพระเจ้านิโคลัสที่ 2 นั้นเป็นพระราชาที่ไม่ดีนัก 

เนื่องจากพระเจ้านิโคลัสที่ 2 นั้นขาดความเด็ดขาด ไม่มีภาวะความเป็นผู้นำ และนำรัสเซียเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 อีกด้วย พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ได้แต่งงานกับราชินี อเล็กซานดร้า เฟโดโอรอฟนา (Alexandra Feodorovna) และให้กำเนิดเจ้าหญิงน้อย 4 คน 

เจ้าหญิง 4 คน

แต่การให้กำเนิดเจ้าหญิงทั้ง 4 คน ในเวลาไล่เลี่ยกัน ทำให้ครอบครัวเกิดความเครียดอย่างมากเนื่องจากไม่มีผู้สืบทอดเชื้อพระองค์เลย เพราะไม่มีบุตรชายนั่นเอง แต่ในเวลาต่อมาทั้งสองพระองค์ก็ได้ให้กำเนิดลูกชาย นามว่า อเล็กเซย์ 

อเล็กเซย์ภายหลังแล้วถูกตรวจพบว่าเป็นโรคฮีโมฟีเลีย หรือที่เรารู้จักกันในโรคที่เลือดไหลไม่หยุดนั่นเอง ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมของราชวงศ์ยุโรป และเพศหญิงมักจะเป็นพาหะนำโรคเท่านั้น

หลังจากนั้นไม่นาน ราชินีอเล็กซานดร้าได้ทำความรู้จักกับ กิกอรี รัสปูติน นักบวชท่านหนึ่ง และนั่นนับว่าเริ่มความหายนะให้กับราชวงศ์เลยก็ว่าได้ นักบวชท่านนี้มีอิทธิพลต่อราชินีอย่างมากเนื่องจากเขาสามารถบรรเทาอาการป่วยของอเล็กเซย์ได้ 

ครั้งหนึ่งอเล็กเซย์หกล้ม และด้วยที่เขาเป็นโรคฮีโมฟีเลีย นั่นจึงทำให้อเล็กเซย์เกือบตาย สร้างความทุกข์ระทมให้แก่ครอบครัวอีกครั้ง ราชวงศ์โรมานอฟจึงตัดสินใจไม่ให้อเล็กเซย์ออกนอกวัง และมีข้ารับใช้คอยดูแลตลอดเวลาเพื่อไม่ให้บาดเจ็บ

เพราะเหตุนี้หลังจากที่พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 อนุญาตให้รัสปูตินเข้ามาในวัง ราชวังก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป และได้ผูกขาดการตัดสินใจไว้กับราชินีอเล็กซานดร้า และรัสปูติน โดยที่พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ไม่สามารถออกความเห็นได้แม้แต่นิดเดียว

ขณะนั้นรัสเซียได้ทำสงครามกับทางประเทศญี่ปุ่น และพ่ายแพ้ในเวลาต่อมา ประชาชนต้องตกที่นั่งลำบากในภาวะสงคราม และสภาพอากาศที่ย่ำแย่ จึงทำให้ประชากรทุกข์ยากอย่างมาก ในปี 1905 จึงเกิดการปฏิวัติของประชาชน

ในวันอาทิตย์ประชาชนได้มารวมตัวกันเพื่อเสนอข้อเรียกร้องต่อพระเจ้าซานิโคลัสที่ 2 แต่แทนที่ว่าพระองค์จะลงมาเจรจากับทางประชาชนเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ตึงเครียด แต่พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 กลับบอกให้ทหารยิงประชาชนที่มาเรียกร้องให้หมดสิ้น เหตุการณ์นี้จึงมีอีกชื่อคือ Bloody Sunday 

การตัดสินใจพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนพาประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ประชาชนอดอาหารล้มตายเป็นจำนวนมาก ด้วยสภาพอากาศที่แย่จึงทำการเกษตรไม่ได้ แต่คนในราชวังกลับอยู่ดีมีสุข และคนในราชวังยังเชื่อฟังรัสปูตินอีกด้วย ถึงแม้จะมีผู้กำจัดรัสปูตินออกไป แต่สถานการณ์ก็ไม่ได้ดีขึ้น

ห้องประหารชีวิต

ในปี 1917 ได้เกิดการปฏิวัติโดย วลาดีมีร์ เลนิน พรรคบอลเชวิค ซึ่งเปลี่ยนจากจักรวรรดิรัสเซีย มาเป็นสหภาพโซเวียต และการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ทำให้พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 สละพระราชสมบัติ และถูกนำไปคุมขังที่ คฤหาสน์อิปาเตียฟ

ในวันที่ 17 กรกฎาคม ปี 1918 มีคำสั่งให้ประหารชีวิตราชวงศ์โรมานอฟให้หมดสิ้น อเล็กซานดร้า และลูกสาวทั้ง 4 ได้นำเพชรพลอยมาติดเสื้อผ้าไว้ เพื่อหวังว่าจะไม่อดตายเมื่อลี้ภัย แต่ก็ถูกสังหารด้วยการยิงกระสุนกระหน่ำซ้ำให้แน่ใจว่าไม่รอดชีวิต และถือเป็นวันที่จบสิ้นระบอบราชานิยมของประเทศรัสเซีย