นอนชดอย่างไรไม่ให้เสียสุขภาพ

วันนี้เรามีเคล็ดลับ นอนชดอย่างไรไม่ให้เสียสุขภาพ เคยกันไหมคะที่เราจะต้องโหมงานหนักทั้งวันทั้งคืนจนถึงวันไฟนอล แล้วพอถึงวันหยุดเราก็ใช้เวลานั้นนอนทดแทนเวลาที่เราใช้เกินไป ซึ่งสำหรับใครที่ทำแบบนี้บ่อย ๆ นั้นหยุดการกระทำของคุณไว้ได้เลย เพราะการทำแบบนี้จะทำให้เสียสุขภาพของคุณในอนาคตแน่นอน มาอ่านบทความนี้คุณจะได้วิธีนอนชดโดยไม่เสียสุขภาพค่ะ แต่ก่อนอื่นทางเราต้องขอแนะนำบทความที่น่าสนใจอย่าง ทั่วโลกสะเทือนไม่หยุด ภูเขาไฟปะทุหลายจุด และขอขอบคุณ เบทฟิก

นอนชดอย่างไรไม่ให้เสียสุขภาพ เคล็ดลับสายนอนดึก

นอนชดอย่างไรไม่ให้เสียสุขภาพ
  • งีบระหว่างวัน

หากเราอดนอน สิ่งที่เราควรทำเลยคือ งีบระหว่างวัน หลายคนอาจจะสงสัยว่าการงีบระหว่างวันจะช่วยอาการอดหลับอดนอนได้จริงหรอ แล้วจะเชื่อถือได้อย่างไร แน่นอนว่าการงีบระหว่างวันนั้นมีงานวิจัยมารองรับว่าช่วยได้ค่ะ แต่การที่เราจะงีบให้มีประโยชน์กับร่างกายมากที่สุดนั้นคือ เราควรจะงีบประมาณ 20 นาทีไม่ควรเกิน 30 นาที หรือถ้าใครพอมีเวลาหน่อยก็นอนให้ครบ Sleep cycle ได้เลย หรือประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที นั่นเองค่ะ

  • Caffeine nap

นี่เป็นอีกหนึ่งเทคนิคค่ะ โดยวิธีนี้คือการให้ดื่มกาแฟก่อนที่เราจะงีบค่ะ ซึ่งคาเฟอีนนั้นจะเริ่มออกฤทธิ์หลังจากที่เราดื่มไปประมาณ 30 นาที ซึ่งก็จะตรงกับเวลางีบที่ได้แนะนำไปในข้อด้านบนซึ่งจะทำให้นอกจากเราจะสดชื่นด้วยตัวเองแล้ว ยังมีคาเฟอีนมาเพิ่มความตื่นตัวให้กับเราอีกด้วยค่ะ ถ้าถามว่าช่วงไหนที่เราควรจะงีบแล้วได้ประสิทธิภาพดีที่สุด มีงานวิจัยเผยว่าเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการงีบก็คือ ช่วงหลังทานอาหารกลางวัน หรือประมาณ 13.00 น. ค่ะ

  • คำนวณเวลาที่เสียไปจากการอดนอน

ก่อนที่เราจะไปนอนชดเชยอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ เราต้องมาคำนวณเวลาที่เสียไปจากการอดนอนเสียก่อนค่ะ อย่างเช่นหากคุณเป็นคนที่นอนไป 8 ชั่วโมงแล้วตื่นมาสดชื่น แต่ในวันหนึ่งคุณได้นอนเพียง 6 ชั่วโมงเท่านั้น แสดงว่าคุณเป็นหนี้เวลานอนไป 2 ชั่วโมงค่ะ ซึ่งก็มีคำแนะนำว่าเราควรจดบันทึกเป็นเวลา 14 วัน เพื่อดูว่าเราติดหนี้เวลานอนไปเท่าไหร่เพื่อที่เราจะได้วางแผนการนอนชดเชยได้อย่างเหมาะสมนั่นเองค่ะ

สำหรับเทคนิคที่แนะนำไปนั้นทุกท่านสามารถนำไปทดลองใช้กับตัวเองเพื่อการนอนที่จะกลับมามีประสิทธิภาพเช่นเดิม สำหรับบางท่านอาจจะปรับเปลี่ยนไปตามแบบของตัวเองเพราะคนเรานั้นไม่เหมือนกัน นาฬิกาชีวิต พันธุกรรม หรืออื่น ๆ ในร่างกายของเรานั้นก็ไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะนอน 7 ชั่วโมงแล้วสดชื่น แต่กลับบางคนอาจจะต้องนอน 8-9 ชั่วโมงถึงจะสดชื่น อย่างไรก็ตามเราต้องหมั่นสังเกตเวลาการนอนของเราด้วยนะคะ

💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤 💤