พระเครื่อง มีที่มาจากไหนกันนะ

สวัสดีค่ะทุกคนวันนี้แอดมินจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ พระเครื่อง หลายคนรู้กันไหมคะว่าพระเครื่องเนี่ยมาจากที่ไหนกัน หากทุกท่านนั้นไม่รู้สามารถมาศึกษาหาข้อมูลได้ในบทความ ความรู้ทั่วไป ของเว็บไซต์เรากันในวันนี้เลยค่ะ

แต่ก่อนอื่นนั้น เราเองก็ต้องขอแนะนำบทความที่น่าสนใจไม่แพ้กันอย่าง ไม่มีแมลงสาป และในวันนี้เราเองก็ต้องขอขอบคุณทางผู้ให้การสนับสนุนจากทาง ufath168 ด้วยนะคะ เพื่อเป็นกำลังใจให้กับทีมงานของเราในการทำบทความดี ๆ ออกมานั้น อย่าลืมกดแชร์เป็นกำลังใจให้เรากันด้วยนะคะ

พระเครื่อง มีที่มาจากไหน มาทำความรู้จักกันก่อน

พระเครื่อง

เราคนไทยน่าจะคุ้นเคยกันอย่างดีกับคำว่า “เช่าพระ” แต่ทำไมพระเครื่องเราถึงเรียกว่าเช่าพระถึงไม่เรียกว่าซื้อพระเครื่อง ทุกคนเคยสงสัยเรื่องนี้กันไหมคะ วันนี้เราจะพาทุกท่านมาหาคำตอบสำหรับเรื่องนี้กันค่ะ แนวคิดเรื่องพระเครื่องนั้นหลายคนคงมองว่าเป็นเรื่องที่ใหม่มาก

แต่แท้จริงแล้วเรื่องของพระเครื่องนั้นมีรากฐานความเป็นมาตั้งแต่การปรินิพานของพระพุทธเจ้าเลยทีเดียวค่ะ สมัยนั้นชาวพุธมักจะเดินทางไปที่สังเวชนียสถาน เช่น สวนลุมพินีวัน พุทธคยา เป็นต้นค่ะ ชาวพุทธในสมัยนั้นเดินทางไปเพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้ากับไปเพื่อปลงสังขารในความไม่เที่ยง

พอชาวพุทธไปถึงสถานที่นั้น ๆ เขาก็อยากจะมีอะไรไว้เก็บเป็นที่ระลึกเพื่อเอากลับไปที่บ้านไปปลงสังขารต่อ ในสมัยนั้นคนนิยมเก็บเมล็ดของต้นศรีมหาโพธิ์ พุทธคยามานั่นเองค่ะ แต่เมล็ดของต้นศรีมหาโพธิ์นั้นไม่ได้มีตลอด ผู้คนสมัยนั้นเลยต้องหาสิ่งใหม่ขึ้นมาเพื่อทดแทน

สมัยนั้นเลยมีการทำงานศิลปกรรมขึ้นมาด้วยการนำดินมาอัดเป็นแผ่น ๆ และวาดลวดลายให้เหมือนกับพระพุทธเจ้า และหลังจากที่พระเจ้าอเล็กซานดอร์ได้เข้ามามีบทบาทตั้งแต่สมัยกรีกก็ได้มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นมาอย่างจริงจังด้วยลวดลายและขนาดหลากหลายมาก

พระเครื่อง

อย่างหนึ่งมีแนวคิดที่บูมขึ้นมามาก ๆ เรียกว่า ปัญจอันตรธาน โดยความเชื่อนี้คือ ในทุก ๆ 1 พันปีที่พระพุทธศาสนาอยู่นั้นจะมีหลายอย่างค่อย ๆ หายไปจนกระทั่งครบ 5 พันปี พระพุทธศาสนาก็จะหายไปเลย พอเขาเชื่อเรื่องนี้กันเยอะ ๆ ทำให้ผู้คนนั้นแตกตื่นและไม่อยากจะให้เกิดเรื่องนี้ขึ้น

ชาวพุทธในตอนนั้นจึงร่วมกันทำพระพุทธรูปเล็ก ๆ และสลักคาถาเยธมมาไว้ด้วย หลังจากนั้นพระพิมพ์ก็ถูกนำเข้ามาในไทยเช่นเดียวกัน แต่ไทยเรานั้นได้รับพระพุทธศาสนามาหลายระลอกแนวคิดในการทำพระพิมพ์ก็เริ่มเปลี่ยนไป เช่น การนำผงกระดูกของคนที่ล่วงลับไปแล้วนั้นมาใส่รวมไปด้วยกับการทำพระพิมพ์

เพราะเชื่อว่าเมื่อคนที่ล่วงลับนั้นได้เดินทางไปยังภูมิโลกหากมีพระพุทธคุณร่วมเดินทางไปด้วยนั้นจะดีกว่า ในสมัยอยุธยานั้นมีความเชื่อเรื่องการทำพระพิมพ์ของขลังไว้สำหรับป้องกันสิ่งชั่วร้าย ในสมัยนั้นมีการสู้รบศึกสงครามเยอะมาก ๆ ในตอนนั้นเราก็มีศาสนาอื่น ๆ เข้ามาด้วย

พระเครื่อง

ในสมัยอยุธยาจึงมีการสร้างผ้ายันต์ ตะกรุด และอื่น ๆ อีกมากมายเต็มไปหมดเช่นกันค่ะ ซึ่งการมีเครื่องรางเหล่านี้เหมือนกับสร้างขวัญกำลังใจให้กับคนที่จะไปออกรบ กษัตริย์หรือแม้กระทั่งทหารเอง หลังจากที่ออกรบมาแล้วเรียบร้อยจะมีการนำพระพิมพ์ที่ออกไปรบด้วยนั้น

ใส่ในอัฐิและนำไปไว้ที่วัดเพราะถือว่าการทำแบบนี้จะถือว่าเป็นการอุทิศส่วนกุศล หลังจากนั้นการเรียกพระพิมพ์ก็ได้เปลี่ยนคำศัพท์มาเรียกว่าพระเครื่อง (พระพิมพ์+เครื่องรางของขลัง) หลังจากนั้นสิ่งที่เปลี่ยนไปของการสร้างพระพิมพ์ก็คือคติที่เปลี่ยนไป

จึงมีการสร้างพระเครื่องน้อยลงแต่ได้มีการไปสำรวจพระที่อยุธยาเก่าแล้วอัฐิที่เคยเก็บพระเครื่องไว้ก็แตกออกมา คนรุ่นนั้นเลยมีการเก็บพระเครื่องเหล่านั้นกลับมาก่อนจะมีการตั้งชื่อตามในภายหลังค่ะ คนแรกที่นำพระเครื่องมาห้อยเพื่อเป็นของมงคลนั้นก็คือ สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

แต่การแจกจ่ายพระเครื่องให้นั้นได้รับวัฒนธรรมมาจากตะวันออกเพราะเมื่อมีงานเฉลิมฉลองก็จะมีการทำเหรียญที่ระลึกไว้แจกจ่ายให้กับประชาชน เมื่อต่างชาติเข้ามาในไทยก็ได้มีการเผยแพร่วัฒนธรรมนี้เข้ามา ในส่วนของประเทศไทยนั้นได้ทำเหรียญพระสงฆ์ขึ้นมาเพื่อแจกจ่ายประชาชน

และเรามาไขข้อสงสัยว่าทำไมตอนนี้ตลาดพระเครื่องนั้นค่อนข้างเติบโตทำไมเขาถึงไม่ใช้คำว่า ซื้อ แต่ใช้คำว่า เช่าแทน ข้อสันนิษฐานนั้นมีหลากหลายเหมือนกันค่ะ ในส่วนแรกนั้นมาจากตอนที่ตลาดพระเครื่องเพิ่งเกิดขึ้น เขาไม่ได้ซื้อด้วยเงิน แต่ใช้วิธีแลกเปลี่ยนพระเครื่องกัน และอีกเหตุผลน่าจะได้ยินกันบ่อยนั่นก็คือ

พระนั้นมีไว้บูชา เป็นวัตถุอันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาจึงไม่นิยมใช้คำว่า ซื้อ-ขาย เหมือนกับของใช้ทั่ว ๆ ไปนั่นเองค่ะ นี่ก็เป็นเหตุผลหลัก ๆ ที่ว่าทำไมเราถึงใช้คำว่าเช่าพระเครื่องมากกว่าคำว่าซื้อขายนั่นเอง ครั้งหน้าเราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับเรื่องอะไรต่อนั้นอย่าลืมติดตามบทความของทางเรากันด้วยนะคะทุกคน และบอกเลยว่ามีแต่เรื่องน่าสนใจทั้งนั้นเลยน้า

📖 📖 📖 📖 📖 📖 📖 📖 📖 📖 📖 📖 📖 📖 📖 📖 📖 📖