เราอ่านอักษรอียิปต์โบราณได้อย่างไรกัน

ทุกคนเคยสงสัยกันไหมคะว่า เราอ่านอักษรอียิปต์โบราณได้อย่างไรกัน ใครเป็นคนแรกที่สามารถแกะภาษาโบราณอย่างอียิปต์ได้ ในวันนี้เราจะมาหาคำตอบให้ทุกท่านในบทความนี้กันค่ะ ซึ่งก่อนอื่นเลยนะคะ เราขอแนะนำบทความน่าสนใจอย่าง คนมีชื่อเสียงกับสิ่งที่พวกเขากลัว และขอขอบคุณทาง เบทฟิก ผู้สนับสนุนของเราอีกด้วยนะคะ

🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣

เราอ่านอักษรอียิปต์โบราณได้อย่างไรกัน

🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣

เราอ่านอักษรอียิปต์โบราณได้อย่างไรกัน
อักษรอียิปต์โบราณ

ในปี 1799 ระหว่างที่นโปเลียนนำทัพอยู่ที่ประเทศอียิปต์ วิศวกรคนหนึ่งที่มีชื่อว่า เปีย ฟร็องซัว บุชชาด ได้รับมอบหมายให้ไปสร้างป้อมที่ใกล้ ๆ กับเมืองเรซานเดรีย ระหว่างการก่อสร้างนั้นพวกเขาได้ไปเจอหินแผ่นหนึ่งที่มีอักษรสามอย่างสลักไว้คือ อักษร Greek, Hieroglyphic และ Demotic โดยสองอักษรท้ายนั้นเป็นอักษรอียิปต์โบราณทั้งคู่ แต่วิธีการเขียนนั้นไม่เหมือนกัน

เมื่อฟองชัว บุดชาดได้เจอกับสิ่งนี้เข้าเขาก็คิดว่านี่เป็นของดีเสียแล้วล่ะ สถานที่ที่เขาพบคือ เมือง Rosetta แผ่นหินนี้จึงได้ชื่อว่า Rosetta Stone ต่อมาในปี 1801 ฝรั่งเศสได้พ่ายแพ้ให้กับอังกฤษทำให้อังกฤษนั้นยึดสมบัติทั้งหมดของฝรั่งเศสไปรวมไปถึงแผ่นหินนี้ด้วย

ความน่าสนใจของแผ่นหินนี้ในตอนนั้นคือประโยคสุดท้ายนี้ได้กล่าวว่า ประโยคนี้จะถูกสลักไว้บนแผ่นหินโดยใช้อักษรสามอย่างคือ อักษรศักดิ์สิทธิ์ อักษรพื้นถิ่น และอักษรกรีกค่ะ นั่นแสดงว่าเนื้อหาสามส่วนในแผ่นหินนี้เป็นเนื้อหาเดียวกัน แค่ใช้คนละอักษร

เราอ่านอักษรอียิปต์โบราณได้อย่างไรกัน
Hieroglyphic

ฌ็อง ฟร็องซัว ช็องปอลียง เขานั้นเป็นคนที่สนใจในด้านภาษาอย่างมาก ในตอนที่แผ่นหินนี้ถูกค้นพบเขาอายุเพียงแค่ 9 ขวบเท่านั้น เขาสามารถพูดได้ถึง 10 ภาษา และขึ้นเป็นศาสตราจารย์ตอนอายุเพียง 18 ปี เขานั้นหลงใหลในภาษาอียิปต์อย่างมาก และเมื่อเขาได้รู้ข่าวเกี่ยวกับแผ่นหิน Rosetta Stone เขาก็ปฏิญาณกับตัวเองว่าจะแปลอักษรอียิปต์ให้ได้

ช็องปอลียงได้ค้นพบว่าอักษร Hieroglyphic นั้นไม่ใช่แค่อักษรภาพอย่างเดียว แต่เป็นอักษรที่ใช้แทนเสียงด้วย และในช่วงนั้น Thomas Young ซึ่งเป็นคนที่อยากจะแกะอักษรเหล่านี้ให้ได้เช่นกันก็ได้มาถกเถียง แลกเปลี่ยนแนวคิดกับช็องปอลียง ซึ่งตัวช็องปอลียงเองก็ไม่ได้เห็นด้วยกับแนวคิดของเขาเสียเท่าไหร่

จนกระทั่งเพื่อนสนิทของเขาอย่าง นิโคลา ได้กลับมาจากอียิปต์ในปี 1822 และได้นำรูปภาพมหาวิหารอะบูซิมเบลมาพร้อมกับอักษรที่สลักอยู่รอบวิหารอย่างละเอียด ช็องปอลียงก็ได้ลองแปลคำในกรอบที่เป็นชื่อของฟาโรห์ดู ทำให้เขาได้รู้ว่ามหาวิหารนี้เป็นของรามเซส หลังจากนั้นเขาก็ใช้วิธีนี้แกะอักษรไปเรื่อย ๆ

ในวันที่ 14 กันยายน ปี 1822 23 ปีหลังจากที่พบ Rosetta Stone ช็องปอลียงก็สามารถแปล อักษร Hieroglyphic ได้สำเร็จ เขาจึงนำเรื่องนี้ไปบอกกับพี่ชาย ซึ่ง Rosetta Stone ได้บันทึกการเฉลิมฉลองให้แก่พระเจ้าทอเลมีที่ 5 แห่งเมืองเมมฟิสนั่นเองค่ะ

🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣 🛣