นักวิทยาศาสตร์คิดจะคืนชีพ ‘นกโดโด้’ อีกครั้ง

ข่าววงการวิทยาศาสตร์ในช่วงนี้ก็คงจะเป็นเรื่องของ นักวิทยาศาสตร์คิดจะคืนชีพ ‘นกโดโด้’ อีกครั้ง ซึ่งในอดีตนั้นมันเป็นนกที่สูญพันธุ์ไปแล้วหลายร้อยปีค่ะ เรื่องราวจะเป็นอย่างไรบ้างมาติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลยนะคะ ก่อนอื่นเลยแอดมินต้องขอแนะนำบทความที่น่าสนใจอย่าง เรื่องราว ความรัก จากอดีตสู่ปัจจุบัน และขอขอบคุณทาง betflix เว็บตรง ผู้สนับสนุนเว็บไซต์ของเราในการมอบเรื่องราวสาระดีๆให้ทุกท่านได้ติดตามอ่านค่ะ

🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬

นักวิทยาศาสตร์คิดจะคืนชีพ ‘นกโดโด้’ อีกครั้ง – น่าสนใจมาก

นกโดโด้

นักวิทยาศาสตร์นั้นกำลังคิดค้นที่จะนำ นกโดโด้ สัตว์ในอดีตที่ตอนนี้สูญพันธุ์ไปแล้วกลับมาคืนชีพอีกครั้ง โดยก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์เคยพยายามคืนชีพ แมมมอธ ช้างขนาดใหญ่มีขนปกคลุมที่เคยอาศัยในช่วงยุคน้ำแข็งให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งในโลกปัจจุบันแต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด โดยจะมีการนำ จีโนม หรือสารพันธุกรรมของนกโดโด้นั้นถ่ายทอดไปไว้ในตัวของนกพิราบ ซึ่งนกพิราบนี้เป็นนกที่มีวิวัฒนาการใกล้เคียงกับนกโดโด้มากที่สุดนั่นเองค่ะ

นกโดโด้ไดสูญพันธุ์ไปเมื่อ 361 ปีก่อน ถิ่นที่อยู่อาศัยของมันก็คือที่ มอริเชียส เป็นประเทศที่เป็นเกาะอยู่นอกชายฝั่งแอฟริกา ลักษณะของนกโดโด้นั้นมีขนาดใหญ่ เคลื่อนที่ได้ช้า อีกทั้งยังไม่สามารถบินได้ อยู่ในวงศ์เดียวกันกับนกพิราบ และนกนางแอ่น หลักฐานการพบนกโดโด้ครั้งสุดท้ายเมื่อปี 1662 สาเหตุหลักที่ทำให้นกโดโด้สูญพันธุ์ไปนั้นก็เป็นเพราะมนุษย์เราไปบุกรุกพื้นที่อยู่อาศัยของมันค่ะ

ตอนนี้บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพที่มีชื่อว่า โคลอสโซ ไบโอเอนเซส ของสหรัฐอเมริกาประกาศว่าจะทำการคืนชีพนกโดโด้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก่อนหน้านั้นทางบริษัทได้มีการประกาศว่าจะคืนชีพ เสือแทสเมเนีย กับ แมมมอธขนดก โดยวิธีที่เขาใช้คือจะนำจีโนมมาถ่ายทอดให้กับสัตว์ที่มีสายวิวัฒนาการใกล้เคียงมากที่สุด อย่างที่แอดมินได้กล่าวไปข้างต้นก็คือ นกพิราบ นั่นเองค่ะ และจะมีการปรับแต่งพันธุกรรมเพิ่มเติมด้วย

ตอนนี้มีนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน DNA โบราณของมหาวิทยาลัยแคลิฟอเนีย ได้มีการสกัดดีเอ็นเอจากซากของนกโดโด้เมื่อ 500 ปีก่อนได้สำเร็จ และนำมาศึกษาโดยละเอียดแล้ว ตอนนี้ได้เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์เพื่อทำตามแผนดำเนินการต่อไป อย่างไรก็ตามการจะนำนกโดโด้กลับมาฟื้นคืนชีพอีกครั้งนั้นก็มีกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อน และท้าทายเป็นอย่างมากเพราะวิธีการตัดต่อจีโนมเข้าไปในสัตว์ที่อยู่ในวงศ์เดียวกันนั้นยังไม่สำเร็จในเคสไหนเลย ก็ต้องมารอติดตามกันค่ะว่าโปรเจคนี้จะสำเร็จหรือไม่ และทางบริษัทก็มีการเปิดระดมทุนในการทำวิจัยในครั้งนี้ด้วยซึ่งงบประมาณจะอยู่ที่ราวๆ 7 พันล้านบาทไทยค่ะ

🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬 🧬