เชอร์โนบิล โศกนาฎกรรมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

เชอร์โนบิล โศกนาฎกรรมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หากพูดถึงเชอร์โนบิลคงไม่มีใครไม่รู้จักโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียมากมายให้แก่ประชาชน และอีกหลายประเทศ วันนี้ผ่านมาแล้วมากกว่า 30 ปี สารกัมมันตรังสีของโรงงานก็ยังมีมากอยู่จนเมืองที่อยู่ใกล้เคียงต้องปิดตายมาตลอดหลายปี เรื่องราวประวัติศาสตร์โศกนาฏกรรมครั้งนี้จะเป็นอย่างไรบ้าง วันนี้แอดมินจะมาเล่าให้ฟังกันค่ะ และแอดมินขอแนะนำสถานที่ประวัติศาสตร์ที่สำคัญ พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โดยขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักอย่าง บาคาร่า 168 ที่ให้การสนับสนุนหลักของเรา

เชอร์โนบิล โศกนาฎกรรมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

เชอร์โนบิล โศกนาฎกรรมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
เชอร์โนบิล

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับพลังงานนิวเคลียร์กันก่อนดีกว่าค่ะว่าพลังงานนิวเคลียร์นี้สามารถทำให้เกิดไฟฟ้าได้ด้วยหรือ ซึ่งพลังงานไฟฟ้าสามารถเกิดได้หลากหลายรูปแบบทั้งแบบธรรมชาติ พลังงานความร้อน พลังงานเคมี และพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งวันนี้เราจะมาโฟกัสที่พลังงานนิวเคลียร์กันค่ะ

  • พลังงานนิวเคลียร์ คือ พลังงานที่ปล่อยออกมาจากนิวเคลียสของอะตอม ที่รอบตัวเรานั้นจะมีอะตอมเต็มไปหมด โดยนิวเคลียสของอะตอมมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การแตกตัว หรือ การรวมตัวกัน และจะได้พลังงานมาในรูปแบบของพลังงานความร้อน หรือรังสี ซึ่งเราจะได้นำพลังงานเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์หลากหลาย เช่น ในวงการแพทย์ที่จะใช้รังสีสำหรับเอ็กซเรย์ หรือการฉายรังสีทำลายเซลล์มะเร็ง

เมื่อเราได้พลังงานความร้อนจากนิวเคลียส ก็นำไปสู่การผลิตไอน้ำแรงดันสูงเพื่อที่จะทำไปผลักกังหันให้หมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในที่สุด และในหลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อด้วยสงครามเย็นการแข่งขันของมหาอำนาจอย่างสหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกาก็มีการแข่งขันในด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ มากขึ้น กล่าวคือ เมื่อสหรัฐอเมริกาก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากเท่าไหร่ สหภาพโซเวียตก็จะสร้างขึ้นมาตามสหรัฐอเมริกา

ป้องกันสารกัมมันตรังสี

สหภาพโซเวียตจึงได้ลงทุนทางด้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างมากจนในปีค.ศ. 1954 ชื่อโรงงานว่า Obninsk เป็นโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรก และหลังจากนั้นก็พยายามจะสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์มากขึ้น และก็คือโรงงานไฟฟ้าเชอร์โนบิล ที่ตั้งตามชื่อเมืองเชอร์โนบิลที่ห่างออกไปประมาณ 15 กิโลเมตร ในปัจจุบันตั้งอยู่ที่ประเทศยูเครน โดยโรงงานมีแผนจะทำเตาปฏิกรณ์ทั้งหมด 6 เตา

โดยปีค.ศ. 1972-1977 ได้เริ่มสร้าง และเปิดใช้งานเตาปฏิกรณ์แรกจนสร้างเตาปฏิกรณ์มาเรื่อย ๆ จนถึงเตาที่ 4 ที่ได้เปิดใช้งานหลังก่อสร้างแล้วเสร็จ 3 ปีเท่านั้นในปีค.ศ. 1986 ถึงแม้จะมีแผนการว่าจะสร้างอีก 2 เตาปฏิกรณ์ แต่เรื่องไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเสียก่อนที่เตาที่ 4 ในเวลาตี 1 ของวันที่ 26 เมษายน ปี 1986 ช่างเทคนิคได้วางแผนทดสอบระบบเตาปฏิกรณ์ที่ 4 ซึ่งเป็นเตารุ่นหนึ่งของโซเวียตที่มายอมรับกันปัจจุบันว่ามีปัญหาอย่างมาก คือรุ่น RBMK 1000

อาคารคุมเตา

ในระหว่างทดสอบระบบเครื่องเกิดมีปัญหา ช่างเทคนิคจึงได้ไปกดหยุดทำงานบางส่วนของระบบจึงทำให้ความร้อนเพิ่มสูงขึ้น และไอน้ำก็มีความดันสูงตามไปด้วยเตาจึงระเบิดทำให้ช่างเทคนิคเสียชีวิตทันที 2 นาย และคนอื่น ๆ อีกมากถึง 31 คน และสารกัมมันตรังสีก็ได้แพร่กระจายไปถึงชายหาดของฝั่งสหรัฐอเมริกา ในทีแรกทางสหภาพโซเวียตไม่แจ้งอพยพประชาชนนานถึง 10 วัน จนทางสวีเดนต้องออกมากดดันทางสหภาพโซเวียตจึงต้องออกมาประกาศอพยพ และเรื่องเตาปฏิกรณ์ระเบิดนั่นเองค่ะ

ในปัจจุบันได้มีการทำอาคารคุมเตาไว้แล้วซึ่งคาดว่าจะคุมไว้ได้ถึง 100 ปี และบริเวณภายนอกที่โดนสารกัมมันตรังสีเช่น ป่าในแถบนั้นกลายเป็นสีแดงไปหมด บ้านเมืองร้างไม่มีใครอาศัยอยู่ แต่ก็มีการรายงานว่าสารกัมมันตรังสีในตอนนี้น้อยลงไปมากแล้ว และก็มีคนแอบย้ายเข้าไปอาศัยอยู่ใกล้ ๆ เช่นกัน

🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃 🎃🎃 🎃 🎃