โรคซึมเศร้า คือโรคอะไรกันแน่ ทำไมปัจจุบันคนเป็นโรคนี้เยอะ

ทุกวันนี้นะคะเราต้องบอกเลยว่าคนเป็น โรคซึมเศร้า กันเยอะมาก ๆ แล้วโรคนี้มันคืออะไรกันแน่ เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับ ความรู้ทั่วไป ที่หลายท่านนั้นอาจจะยังไม่รู้กันค่อนข้างเยอะเลยนะ และก่อนที่เราจะไปติดตามบทความที่น่าสนใจนี้นั้น

ห้ามพลาดเลยกับเรื่อง ค่าไฟแพง เราจะจัดการอย่างไรดีเพื่อ save ค่าใช้จ่ายในช่วงหน้าร้อนนี้ และที่สำคัญก็ไม่ลืมที่จะขอบคุณทาง ufath168 ผู้สนับสนุนหลักของเราในวันนี้ด้วยเช่นกันค่ะ หากทุกท่านพร้อมแล้วมาอ่านบทความที่น่าสนใจนี้กันเลยดีกว่าค่ะ

โรคซึมเศร้า คือโรคอะไรกันแน่ ทำไมปัจจุบันคนเป็นโรคนี้เยอะ

โรคซึมเศร้า

ปัจจุบันนี้คนไทยประสบกับโรคซึมเศร้ากันเยอะมาก ๆ อย่างไรก็ตามก็ยังมีคนตั้งคำถามกับโรคนี้อยู่เรื่อย ๆ ว่าโรคนี้แท้จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่ หลายคนที่เป็นซึมเศร้าแล้วไปเจอกับคนปกติก็มักจะเจอคำพูดที่ว่านี่เป็นโรคของคนที่มีจิตใจอ่อนแอหรือเปล่า

ซึมเศร้านั้นเป็นโรคที่ต้องมีขั้นตอนในการรักษา เพราะว่าซึมเศร้ากับอารมรณ์เศร้านั้นไม่เหมือนกัน อาการซึมเศร้านั้นจะมี 1.รู้สึกเศร้า ท้อแท้ ซึม เป็นระยะเวลานานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ 2.ต้องมีอาการร่วมด้วยอย่าง นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ กินข้าวได้น้อยลง เป็นต้น

ซึ่งแน่นอนว่าพอมีอาการซึมเศร้าแล้วนั้นมันก็จะกระทบกับการใช้ชีวิตอื่น ๆ ไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ ปกติเวลาที่เราพูดถึงโรคซึมเศร้านั้นอีกอย่างที่เรามักจะพูดถึงก็คือเรื่องเกี่ยวกับสารเคมีในสมองที่มันผิดปกติไป

หลายคนพอฟังแบบนี้แล้วงงหนักกว่าเดิมอีกค่ะ สารเคมีในสมองกับความรู้สึกเรานั้นมันไปเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร คือต้องบอกก่อนนะคะว่าในสมองของเรานั้นมีการทำงานต่าง ๆ ที่ซับซ้อนเอามาก ๆ เลยล่ะค่ะ นอกจากเส้นประสาทแล้วนั้นก็ยังจะมีสารสื่อประสาทอีกหลายตัวที่ต้องทำงานร่วมกัน

แต่ต้องบอกก่อนว่าการรับรู้ของเรานั้นไม่เท่ากัน เช่น กลิ่นเหมือนกันบริเวณเดียวกัน คนสองคนอาจจะได้กลิ่นไม่เหมือนกันก็ได้ค่ะ ซึ่งแน่นอนค่ะว่าสารสื่อประสาทของแต่ละคนนั้นก็ไม่ได้ออกมาเหมือนกันแต่อย่างใดค่ะ สารสื่อประสาทที่มีคนบอกว่าเกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้ามากที่สุดก็คือ Serotonin กับ Dopamine

โรคซึมเศร้า

Serotonin เป็นสารในสมองที่เกี่ยวข้องกับความสุข ควบคุมความเจ็บปวด ความหิว การนอนหลับ และความโกรธ

Dopamine เป็นสารที่เกี่ยวข้องกับความมุ่งมั่น ถ้าโดปามีนสูง ๆ ในคนนั้นก็จะมีความรู้สึกอยากเอาชนะ มีความพยายามในการบรรลุเป้าหมาย

สาเหตุของโรคซึมเศร้านั้นมาได้จากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็น พันธุกรรม ลักษณะนิสัยพื้นฐาน สภาพแวดล้อมที่เติบโตมา นั่นเองค่ะ การที่เราจะมาสังเกตว่าเราเป็นโรคซึมเศร้าไหมนั้นต้องให้จิตแพทย์เป็นคนประเมินนั่นเองค่ะว่าตอนนี้เราเข้าข่ายการเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่

จิตแพทย์เขาก็จะใช้เกณฑ์หลัก ๆ เลยก็คือเรื่องเวลาที่ใครมีพฤติกรรมที่ผู้เขียนได้กล่าวไปด้านบนนั้นอย่างน้อยสักข้อเป็นเวลาติดต่อกัน 2 สัปดาห์เป็นต้นไปอาจจะมีอาการซึมเศร้าเข้าแล้ว นอกจากนี้โรคซึมเศร้านั้นอาจจะเกิดจากโรคอื่น ๆ ได้ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นโรคสมองอักเสบ โรคตับอักเสบ วัณโรค เป็นต้น

หรืออาการซึมเศร้าที่เกิดจากยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันบางชนิด ยารักษาโรคพาร์กินสัน ยารักษาโรคมะเร็ง เป็นต้นค่ะ เพื่อให้ได้ความแม่นยำจริง ๆ ต้องให้แพทย์เป็นคนวินิจฉัยเราแทนคำพูดของคนอื่น อย่างไรก็ตามนอกจากนี้อีกคำที่เราได้ยินบ่อย ๆ ก็คือ คนสมัยนี้นั้นเป็นโรคซึมเศร้ากันเยอะมากเลย

ซึ่งต้องบอกก่อนว่าสมัยก่อนถ้าหากดูอาการนั้นก็เข้าข่ายโรคซึมเศร้ามีจำนวนมาก แต่คนสมัยก่อนอาจจะไม่เข้าใจว่าโรคที่พวกเขากำลังเผชิญอยู่นี้คือโรคอะไรกันแน่ อาการในสมัยก่อนที่คล้ายกับซึมเศร้ามากที่สุดนั่นคืออาการ Melancholia ในสมัยกรีกโบราณ

โรคซึมเศร้า

ซึ่งอาการนี้จะมีอาการสิ้นหวัง กินไม่ลง นอนไม่หลับ รู้สึกกระวนกระวายไปหมด ซึ่งคนแรกที่พูดถึงอาการนี้คนแรกก็คือ Hippocrates ซึ่งก็คือบิดาแห่งการแพทย์ชาวกรีกนั่นเอง แต่ที่เขาให้เหตุผลว่าที่คนเป็นโรคนี้เพราะว่าของเหลวในตัวนั้นไม่สมดุล

วิธีแก้ก็คือต้องปรับสมดุลสะสางทุกอย่างให้มันเข้าที่เข้าทางด้วยการไปออกกำลังกาย อาบน้ำ ทานอาหาร รวมไปถึงการกรีดเลือดเพื่อรักษาโรค ในเว็บไซต์ของเรานั้นมีการพูดถึงการกรีดเลือดรักษาโรคกันด้วยนะคะทุกคน จากยุคกรีกมันก็ได้ส่งต่อมาที่ยุคโรมัน และมาจนถึงปัจจุบันนั่นเองค่ะ

พอมาถึงช่วงยุคกลางแนวคิดก็ได้เปลี่ยนไปเช่นกัน ในตอนนั้นคนจะเชื่อเรื่องผีวิญญาณมากกว่า ใครที่เป็นโรคซึมเศร้านั้นจะต้องเจอกับเรื่องชั่วร้าย ภูตผีวิญญาณมาเข้าสิง เพราะฉะนั้นวิธีการรักษาก็จะเกี่ยวกับการไล่ผีออกจากร่างกายเพื่อให้คน ๆ นั้นกลับมาเหมือนเดิม

ปัจจุบันนี้การรักษาโรคซึมเศร้านั้นต้องพึ่งพายา และการบำบัดแบบจริงจัง ปัจจุบันโลกของเรากำลังเผชิญกับความเครียดหลายอย่างทำให้หลายคนนั้นต้องเผชิญกับโรคนี้แบบที่เลี่ยงไม่ได้ หากใครคิดว่าตนเองมีภาวะที่จะเป็นให้รีบไปพบจิตแพทย์เพื่อประเมินอาการกันด้วยนะคะ